ทักษิณา สวนานนท์
หน้าตา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ทักษิณา สวนานนท์ (7 มิถุนายน พ.ศ. 2480-28 พฤษภาคม พ.ศ. 2565) อดีตอาจารย์ประจำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตปรึกษารัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในปี 2537 สมาชิกวุฒิสภา 2539
ประวัติ
[แก้]ศาสตราจารย์กิตติคุณ ทักษิณา สวนานนท์ เป็นบุตรของ ศาสตราจารย์ บุญชนะ และท่านผู้หญิงแส อัตถากร (ถึงแก่กรรมทั้งคู่) สมรสกับนายเดโช สวนานนท์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีธิดา 3 คน คือนางโชติกา สวนานนท์ เตชะวัฒนวรรณา นางประถมาภรณ์ สวัสดิ์-ชูโต และนางศรานตา สวนานนท์ เฟอร์กูสัน
ประวัติการศึกษา
[แก้]- โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
- โรงเรียนราชินีบน
- ปริญญาตรี อักษรศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2499
- ปริญญาโท MS in ED สาขาประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอินเดียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2501
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ. รุ่นที่ 344 )ปี 2534
- เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากวิทยาลัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สยาม ปี 2555
การทำงานและตำแหน่งหน้าที่
[แก้]- 6 กุมภาพันธ์ 2532 ศาสตราจารย์สาขาวิชาศึกษาศาสตร์(คอมพิวเตอร์ศึกษา) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 15 มีนาคม 2534 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สมัยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ)
- 19 เมษายน 2534 กรรมาธิการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน
- 2536 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
- 2538 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
- 22 มีนาคม 2539-2543 สมาชิกวุฒิสภา
- 11 เมษายน 2539 กรรมาธิการการวิทยศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน (วุฒิสภา)
- 2544-2545 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- กรรมการสภาการศึกษาในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอุดมศึกษา
- อนุกรรมการบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์ ราชบัณฑิตสถานแห่งชาติ
- อนุกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม (2544-2553)
- ผู้พิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลาง (2544-2554)
งานด้านสังคม
[แก้]- โปรดเกล้าให้เป็นกรรมการบอกบุญและรับบริจาคเงินเพื่อใช้ในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง (2523-2525)
- เลขานุการคณะกรรมการจัดหาเงินเพื่อจัดซ่อมแซมและบูรณะฉัตรบนฐานชุกชีในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (2530-2538)
- กรรมการหารายได้สร้างตึกนวมินทราชินีของสภากาชาดไทย
- รองประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาและวิจัยวิทยาการคอมพิวเตอร์
รางวัลต่างๆ
[แก้]- แม่ดีเด่นประเภทผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
- รางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ บุคคลดีเด่นประเภทผู้ทำคุณประโยชน์ให้มหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- คนดีศรีมหาสารคามของจังหวัดมหาสารคาม
ผลงานทางวิชาการ
[แก้]- คอมพิวเตอร์ศึกษา
- พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ (พิมพ์กว่า 10 ครั้ง)
- ไมโครคอมพิวเตอร์และงานออฟฟิศออโตเมชั่น
- เรียนรู้คอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง
- ชีวประวัติบุคคลสำคัญของโลก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2480
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2565
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สกุลอัตถากร
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
- บุคคลจากโรงเรียนราชินีบน